วันพุธที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2550

วันอังคารที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2550

MV^^ สดใหม่ **D@nce on the $e@ ** ( เทคนิค Trim )

http://www.uploadtoday.com/download/?5fe24c15b0c3efb2c9086356386857ca

หรือจาเข้าที่.......

http://www.fileupyours.com/files/104437/mOVIESSSSS_0001.wmv

ก้อด้ายยย

เนื้อเรื่องก้อเปน MV ของศิลปินกลุ่มหนึ่งกำลังถ่ายทำอยุ่กับบรรยากาศสวยๆของทะเล พร้อมด้วยความรักอันหวานชื่นนนน....

** ร้านตัดผม^^ ข้ามเวลา^^ 2500 - 2550 ** (เทคนิค Split)

http://www.fileupyours.com/files/104437/Movieed(1).wmv

ก้ออาจจาดุม่ายรุ้เรื่องนาคับ เพราะใส่เทคนิคมากไปหน่อย...

** สัตว์เลื้อยคลาน จำพวก ___เหี้--ยย__ **


เหี้ย,เหี้ยลายดอก(ตัวเงิน ตัวทอง) สัตวเลื้อนคลานWater Monitor


ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Varanus salvator


ลักษณะทั่วไป ตัวสีดำ ลิ้นสีม่วงปลายแฉก มีลายดอกสีขาวหรือเหลืองเป็นแถวพาดขวางตัว หางเป็นปล้องสีดำสลับกับเหลืองอ่อน หนังหยาบเป็นเกล็ด ลำตัวมีขนาดใหญ่กว่าสัตว์อื่นในจำพวกเดียวกัน แต่เล็กกว่ามังกรโคโมโด


ถิ่นอาศัย, อาหาร พบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งอินเดียและศรีลังกา ในประเทศไทยพบได้ทุกภาค เหี้ยไม่เลือกอาหาร กินทั้งสัตว์บกและสัตว์น้ำ สัตว์ปีก เช่น ไก่ นก ปลา กบ เขียด หนู กินได้ทั้งของสดและของเน่า พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ ดุ ใช้หางเป็นอาวุธฟาดศัตรูแล้วใช้ปากกัด ชอบอยู่ใกล้น้ำว่ายน้ำ ดำน้ำเก่ง และขึ้นต้นไม้เก่งด้วย


การวางไข่ เหี้ยวางไข่ครั้งละ 15-30 ฟอง ขุดหลุมหรือทำโพรงเป็นที่วางไข่ ไม่ฟักไข่ คือพ่อแม่ไม่ต้องกกไข่ ลูกฟักตัวออกมาเองจากไข่โดยธรรมชาติ เมื่อลูกออกมาจากไข่แล้วก็หากินเอง เปลือกไข่นิ่มแต่เหนียว


สถานภาพปัจจุบัน เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 สถานที่ชม สวนสัตว์ดุสิต สวนสัตว์นครราชสีมา

*** พญาแร้งงงงง_^_^_ ค้าบบบบบบ ***


ลักษณะรูปร่าง พญาแร้ง เป็น นกขนาดใหญ่ ขนาดประมาณ 81 - 85 ซม. หางสั้น ปลายหางค่อนข้าง เป็นรูปพลั่ว ตัวเต็มวัยสีตามลำตัวออกเป็นสีดำ อก และ สีข้างมีแถบสีขาว ตัวไม่เต็มวัย ของ พญาแร้ง แตกต่างจากตัวไม่เต็มวัย ของอีแร้ง อื่นๆ ตรงที่มีสีขาว บริเวณท้องตอนล่าง และ ขนคลุมโคนหาง

นิสัยประจำพันธุ์ พญาแร้ง เป็นนกที่มีกิจกรรมต่างๆ และ หากินในตอนกลางวัน พบตามทุ่งนา พื้นที่เกษตรกรรม ทุ่งโล่ง และป่าต่างๆ มักจะพบ อยู่เป็น ฝูงเล็กๆ ราว 2 - 5 ตัว หรือ อาจจะพบอยู่กับฝูงแร้งเทาหลังขาว


อาหารของพญาแร้ง ได้แก่ ซากสัตว์ต่างๆ ซึ่งสัตว์ผู้ล่าอื่นๆ ทิ้งเอาไว้ หรือซากสัตว์ที่มนุษย์นำไปทิ้ง หรือแม้แต่ซากศพมนุษย์ซึ่งถูกทิ้งไว้

พญาแร้ง มีพฤติกรรมการหาอาหาร ด้วยการจ้องมองหาอาหาร ขณะที่ร่อนอยู่กลางอากาศ เมื่อเห็นอาหาร มันจะบินลงมากิน โดยใช้จะงอยปาก ฉีกซากสัตว์ และ ปกติ จะกินเครื่องในก่อน จากนั้นจึงจะกินเนื้อทีหลัง

ฤดูผสมพันธุ์ทำรังวางไข่ พญาแร้ง ผสมพันธุ์ในช่วงฤดูหนาว ต่อ ฤดูร้อน หรือ ระหว่างเดือนธันวาคม ถึง เดือน เมษายน ทำรังตามต้นไม้โดยเฉพาะต้นตาล และ ต้นยางนา โดยใช้กิ่งไม้ต่างๆ วางซ้อนทับตามคอต้นตาล หรือ ตามง่ามของกิ่งไม้
ไข่ มีสีขาว มม. ตัวเมียวางไข่คราวละ ฟองเดียว ระยะเวลา ฟักไข่ ประมาณ 45 วัน ลูกที่ฟักออกจากไข่ใหม่ๆ มีขนอุยสีขาวปกคลุม ลำตัว แต่ยังช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ โดยเฉพาะการ หาอาหาร มาป้อน และ ดูแลจนกระทั่งลูกแข็งแรง และ บินได้ จากนั้นจึงจะทิ้งรังไป

การแพร่กระจายพันธุ์ อินเดีย เนปาล บังคลาเทศ , จีน , สำหรับเอเซียตะวันออก เฉียงใต้ เป็นนกประจำถิ่นที่หายากมาก ทางภาคตะวันตก ของประเทศไทย , ภาคใต้ของลาว , ตะวันออกเฉียงเหนือ ของกัมพูชา , แคว้นอันนัม ในเวียตนาม , ภาคเหนือของ คาบสมุทร มาลายา , ภาคเหนือ ภาคกลาง ของลาว , ประเทศ ในแถบอินโดจีน

วันจันทร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2550

**__ สัตว์(สงวน + คุ้มครอง)__ **

สัตว์สงวนและสัตว์คุ้มครอง
1. สัตว์ป่าสงวน หมายความว่า สัตว์ป่าที่หายากตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้ ซึ่งมีจำนวน 15 ชนิดและตามที่จะกำหนดเพิ่มเติมโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ปัจจุบันยังไม่มีเพิ่มเติม
2. สัตว์ป่าคุ้มครอง หมายความว่า สัตว์ป่าตามที่กฎกระทรวงกำหนดให้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง

รายการสัตว์ป่าสงวน จำนวน 15 ชนิด มีดังนี้
1. นกเจ้าฟ้าหญิงสิริธร
2. แรด
3. กระซู่
4. กูปรีหรือโคไพร
5. ควายป่า
6. ละองหรือละมั่ง
7. สมันหรือเนื้อสมัน
8. เลียงผาหรือเยืองหรือกูรำหรือโครำ
9. กวางผา
10. นกแต้วแล้วท้องดำ
11. นกกระเรียน
12. แมวลายหินอ่อน
13. สมเสร็จ
14. เก้งหม้อ
15. พะยูนหรือหมูน้ำ

รายการสัตว์ป่าคุ้มครอง มี 7 จำพวก ดังนี้

1. สัตว์ป่าจำพวกเลี้ยงลูกด้วยนม มี 189 รายการ ประกอบด้วยสัตว์ป่าหายากจำพวก กระจง กระรอก ค้างคาว ชะนี วาฬ โลมา ลิง เสือ เป็นต้น
2. สัตว์ป่าจำพวกนก มี 182 รายการ ประกอบด้วยสัตว์ป่าหายากจำพวก ไก่ฟ้า ไก่ป่า นกกระทา นกเขา นกปรอด นกเป็ดน้ำ เป็นต้น
3. สัตว์ป่าจำพวกเลื้อยคลาน มี 63 รายการ ประกอบด้วยสัตว์ป่าหายากจำพวกกิ้งก่า งู จระเข้ ตะพาบน้ำ ตุ๊กแก เต่า เหี้ย เป็นต้น
4. สัตว์ป่าจำพวกแมลง มี 13 รายการ ประกอบด้วยสัตว์ป่าหายากจำพวกด้วงกว่างดาว ผีเสื้อกลางคืนหางยาว ผีเสื้อนางพญา เป็นต้น
5. สัตว์ป่าจำพวกสะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบก มี 12 รายการ ประกอบด้วยสัตว์ป่าหายากจำพวกกบเกาะช้าง กบท่าสาร กบอกหนาม กะทั่งหรือจักกิ้มน้ำ คางคกขายาว คางคกห้วยมลายู เป็นต้น
6. สัตว์ป่าจำพวกปลา มี 4 ชนิด ดังนี้ ปลาตะพัดหรืออะโรวาน่า ปลาเสือตอหรือเสือลาด ปลาค้างคาวหรือติดหิน และปลาหมูอารีย์
7. สัตว์ป่าจำพวกไม่มีกระดูกสันหลัง มี 13 รายการ ประกอบด้วยสัตว์ป่าหายากจำพวกปะการัง กัลปังหา ดอกไม้ทะเล ปูเจ้าฟ้า ปูราชินี หอยมือเสือ หอยสังข์แตร เป็นต้น

อ้างอิง http://www.whalesharkthai.com/html/thai_law.htm#รายการสัตว์ป่าสงวน%20จำนวน%2015%20ชนิด%20มีดังนี้

***มนางลำปุsss..___...มนุษย์ลำปาง***


----ในความเป็นมาในการค้าพบโบราณวัตถุสำคัญโดยเฉพาะฟอสซิลโฮโมอิเร็คตัสอายุประมาณ 5 แสนปี เป็นการเปิดเผยโฉมหน้าใหม่ของประวัติศาสตร์ เกี่ยวกับวิวัฒนาการ การเกิดขึ้นเป็นมนุษย์ในแผ่นดินไทยและในทวีปเอเชียโฮโม อิเร็คตัส ที่ค้นพบได้จากจังหวัดลำปาง น่าจะได้รับการขนานนามว่า “ มนุษย์สยาม “ “ มนุษย์ลำปาง ” หรือ “ มนุษย์เกาะคา" ตามแหล่งที่ค้นพบ
----ที่ตั้งของแหล่งที่ทำการสำรวจและขุดค้นอยู่ที่บริเวณเขาป่าหนามใกล้บ้านหาดปู่ด้าย ตำบล นาแส่ง อำเภอ เกาะคา จังหวัด ลำปาง ลักษณะ ที่ตั้งเป็นซอกหลืบหินปูน หรือโพลงถ้ำที่บริเวณเพดานพังลงมาทีหลังในภูมิประเทศแบบคาสต์ ใกล้แม่น้ำวัง แหล่งซากดึกดำบรรพ์เขาป่าหนามนี้ มีสภาพพิเศษที่เอื้ออำนวยให้ซากดึกดำบรรพ์ถูกเก็บรักษาไว้ให้อยู่ในสภาพที่ดีพอสมควร โดยสารฟอสเฟตซึ่งเกิดจากมูลค้างคาวสลายตัวและห่อหุ้มซากกระดูกทั้งหลายเอาไว้ภายในหลืบ – ซอกของพื้นถ้ำ
----โฮโมอิเร็คตัส เป็นสายพันธ์มนุษย์ มีวิวัฒนาการเมื่อประมาณ 1ล้านถึง 5 แสนปีมาแล้วของสมัยไพลสโตซีน มีลักษณกะโหลกค่อนข้างหนาเทอะทะและมีหน้าผากลาด มีสันเหนือกระบอกตา เป็นสันนูนหนา แต่ขนาดความหนาน้ออยกว่ามนุษย์นีแอนเดอธัลเล็กน้อยมีความจุขนาดสมองปริมาตร 800 – 1,200 ซีซีhttp://www.lp-ju.ago.go.th/travel/homoerectus.htm